kick off LSD ๒๑๐๕๒๘ 9 800x452

 

 

" กิจกรรมรณรงค์ Kick off การป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ในโค-กระบือ "
วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองอุบลราชธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ลงพื้นที่เปิดโครงการรณรงค์ (Kick off) การป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ในโค-กระบือ ณ โรงเรียนชุมชนบ้านหัวเรือ ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายกิตติ กุบแก้ว เป็นผู้กล่าวรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ถึงสถานการณ์การเกิดในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และวัตถุประสงค์ของการจัดการรณรงค์ เพื่อสร้างการรับรู้การเกิดโรคระบาด รวมถึงแนวทางร่วมกันในการป้องกันและกำจัดโรค ซึ่งกิจกรรมในงาน มีลำดับ ดังนี้
- ปศุสัตว์จังหวัดอุบลราชนี กล่าวรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ถึงสถานการณ์การเกิดโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) และวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
- ผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวเปิดงาน พร้อมมอบนโยบายและมาตรการ โดยตั้งเป้าหมายว่าโรคต้องสงบภายในระยะเวลา 3 เดือน อีกทั้งได้มอบแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ดังนี้ 1.ควบคุมการเคลื่อนย้ายโค กระบือ โดยการประกาศเขตโรคระบาดชนิดโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ทั้งจังหวัด ไปแล้วเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 2. ให้เจ้าหน้าที่ เกษตรกร ผู้นำท้องถิ่น ช่วยกันเฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด เน้น รู้โรคเร็ว ควบคุมและสงบโรคได้เร็ว 3.ให้องค์กรท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ เกษตรกร ผู้นำท้องถิ่น ร่วมกันกำจัดแมลงพาหะนำโรค 4. การรักษาสัตว์ป่วย ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ให้เร็วที่สุด ไม่ควรรักษาโรคเอง
หลังจากนั้นประธานได้ทำการมอบเวชภัณฑ์กำจัดแมลงพาหะให้แก่เกษตรกร ตัดริบบิ้น ปล่อยขนวบมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ เพื่อรณรงค์การพ่นยากำจัดแมลงตามคอกสัตว์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน จัดรายการโทรทัศน์ผู้ว่าพบประชาชน ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยในรายการเป็นการให้ข้อมูลสถานการณ์ของโรคในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และความรู้การป้องกันกำจัดโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) โดยเน้นว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน พร้อมทั้งเยี่ยมชมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการพ่นยากำจัดแมลงตามคอกสัตว์ กิจกรรมการรณรงค์ฯ ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องถิ่นจังหวัด ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอ ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาปศุสัตว์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือเป็นอย่างดียิ่ง

ภาพ/ข่าว กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ 045255005